ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก ของ สุนี ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สรุปผล

การโครงงานอาชีพธุรกิจนี้ทำให้รู้อาชีพที่ตัวเองทำได้ดีขึ้น

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

ส่วนผสมทางการตลาด

ส่วนผสมทางการตลาด 4P (Marketing Mix) เป็น 6P

  1. Product ในอดีตเราจะผลิตสินค้า/บริการอะไรเพื่อนำไปเสนอขายให้กับผู้บริโภค อย่าเพิ่งเริ่มจากบริษัทเราผลิตอะไรได้ แต่ควรที่จะมองว่าการตลาดต้องเริ่มต้นจากผู้บริโภค/ลูกค้า หาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค ดังนั้นการวางแผนผลิตภัณฑ์จึงมีเป้าหมายอยู่ที่การตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ตรงใจที่สุด
  2. Price ในอดีตฝ่ายบัญชีเป็นผู้ตั้งราคาสินค้า โดยเอาต้นทุนเป็นเกณฑ์ ซึ่งการตั้งราคาควรเริ่มต้นจากผู้บริโภค ต้องกำหนดว่าราคาใดเป็นราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้ แล้วจึงคำนวณกลับมาหาต้นทุน หลายๆครั้ง การตั้งราคาต่ำกว่าต้นทุนรวม แต่สูงกว่าต้นทุนผันแปร ทำให้บริษัทมีกำไรมากกว่า การตั้งราคาสูง แต่ขายไม่ได้ ซึ่งบริษัทต้องให้มากกว่าสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง จึงจะเกิดการซื้อซ้ำ บอกต่อกันปากต่อปาก แล้วยังปกป้อง และรอคอยสินค้าของเราด้วย ดังนั้นการตั้งราคาของสินค้า และการเลือกกลยุทธ์ราคาในการส่งเสริมการขายต้องเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม
  3. Place ในอดีต เน้นในเรื่องการหาช่องทางการขาย เพื่อต้องการให้ลูกค้าสะดวกในการหาซื้อสินค้า ทำให้จัดพนักงานขายให้กระจายครอบคลุมพื้นที่ขายให้มากที่สุด ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าผ่านทาง โทรศัพท์ โทรสาร อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่ให้บริการ 24 ช.ม ทำให้สามารถตอบสนองความสะดวกของลูกค้าได้
  4. Promotion ในอดีต พนักงานมีบทบาทมาก แต่ต่อมาการสื่อสารพัฒนาขึ้นขยายไปทุกพื้นที่ในประเทศ ทำให้หันไปใช้สื่อโฆษณา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ นักการตลาดจึงเริ่มพัฒนาการสื่อสารกับลูกค้า

สรุป 4P เป็นเรื่องของการจัดการ 4CProduct ผลิตสินค้ามาก็เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Consumer’s Need)

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

ความรู้พื้นฐานทางการตลาด

ความรู้พื้นฐานทางการตลาด

ส่วนผสมทางการตลาด ( Marketing Mix ) หมายถึงองค์ประกอบทางการตลาดประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ตัวที่เรียกว่า 4Ps
  1. ผลิตภัณฑ์ Rroduct
  2. ราคา Price
  3. การจัดจำหน่า ยและสถานที่จำหน่าย Place or Channel of Distribution
  4. การส่งเสริมการจำหน่าย Promoticn

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

คือภาษีที่เก็บจากมูลค่าของสินค่าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในเเต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค่าหรือบริการชนิดต่างๆภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวนจากยอดมูลค่าสินค่าหรือบริการตามอัตราภาษีที่กำหนดเพื่อไม่ให้เก็บภาษีซำซ้อนจากสินค่าหรือบริการในการคำนวนภาษีผู้ประกอบการจดทะเบียนจะนำภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการซึ้งกฎหมายเรียกว่า ภาษีขายตั้งเเละลบหรือเคดิตและภาษีที่ตนถูกผู้ประกอบการรายอื่นเรียกเก็บซึ่งกฎหมายเรียกว่า ภาษีซื้อ โดยอาศัยหลักฐานสำคัญที่เรียกว่า ใบกำกับภาษี ภาษีซื้ออาจจะคืนเป็นเงินสดแทนเคดิต

ภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไปต้องชำระเป็นรายเดือนภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีต่อไปผู้ประกอบการนอกจากจะจดทะเบียนและมีหน้าที่ยืดแบบแสดงรายการเสียภาษีเป็นรายเดือนยังมีหน้าที่ทำใบกำกับภาษี

  1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการในราชอาณาจักรหรือคนค้าขายทั่วไปที่เป็นบุคคละรรดาและบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลและขายสินค้าหรือบริการทางะรกิจหรือวิชาชีพ ผู้ประกอบการที่นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร
  2. กิจการที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การขายพืชผลทางการเกษตร การขายสัตว์ ผลิตภัตฑ์สัตว์และวัตถุที่พลอยได้มาจากสัตว์ การขายปุ๋ย การขายปลาป่น อาหารสัตว์ การขายยาหรือเคมีภัตฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์เพื่อบำรุงรักษาป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือโรคของพืชและสัตว์ การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

ดอกไม้ที่ใช้











รูปแบบพวงมาลัยที่ทำเสร็จ


วิธีการร้อยมาลัยกลม

วิธีการร้อยมาลัยกลม มีหลักที่สำคัญดังนี้
1.คัดเลือกดอกหรือกลีบดอกให้ขนาดเท่า ๆ กัน
2.การส่งกลีบหรือก้านดอก จะต้องให้ยาวเท่า ๆ กันทุกกลีบ หรือทุกดอกทั้งในแถวเดียวกันและระหว่างแถวด้วย เพื่อให้มาลัยที่ร้อยเสร็จแล้วนั้นมีสัดส่วน และรูปทรงสวยงาม ดังนั้นในการร้อยดอกไม้แต่ละดอกหรือแต่ละกลีบ ควรจะต้องวัดก้านก้านก่อนแทงใส่เข็ม
3.ร้อยแถวแรก หรือชั้นแรกให้เป็นวงกลม จัดระยะห่างแต่ละกลีบให้เท่ากัน โดยเริ่มร้อยกลีบแรกเรียงจากซ้ายวนไปทางขวา ( ตามเข็มนาฬิกา ) จนครบจำนวนกลีบตามต้องการ
4.ร้อยแถวที่ 2 โดยวางกลีบให้สับหว่างกับกลีบในแถวแรกทุกกลีบจนครบ จำนวนกลีบเท่ากับ
แถวที่ 1 และแถวต่อ ๆ ไปก็ทำเช่นเดียวกัน ข้อควรระวัง คือ ทก ๆ แถวจะต้องมีจำนวนกลีบเท่ากันและสับหว่างกันทุกแถวด้วย ถ้าแถวใดจำนวนกลีบลดน้อยลงหรือเพิ่มขึ้นแสดงว่าจะต้องร้อยสับหว่างผิด
5.มาลัยกลมแบบไม่มีลาย ร้อยเรียงวนโดยรอบเข็ม ควรจัดระยะห่างแต่ละกลีบให้เท่ากัน เมื่อร้อยครบจำนวนกลีบในแถวที่ 1 ตามต้องการ แล้วก็เริ่มร้อยแถวที่ 2 โดยกลีบแรกของแถวที่ 2 นี้ จะต้องอยู่ระหว่างกลีบสุดท้าย และกลีบที่ 1 ของแถวที่ 1และกลีบต่อ ๆ ไป ก็ร้อยให้สับหว่างเช่นกันทุกแถว และจำนวนกลีบของแต่ละแถวก็ต้องเท่ากันด้วย
6.มาลัยกลมแบบมีลาย ถ้าลายด้านเดียวจะขึ้นต้นจำนวนกี่กลีบก็ได้ แต่ถ้าเป็นมาลัยกลมแบบมีลายสองด้าน จะต้องขึ้นจำนวนกลีบคู่เสมอ นิยมขึ้น 8 หรือ 10 กลีบ หรือมากกว่านั้น ( ถ้าเป็นมาลัยที่มีขนาดใหญ่ ) วิธีการร้อยก็เรียงวนโดยรอบเข็มเช่นกัน พอถึงลวดลายก็ร้อยกลีบที่มีสีต่างไปจากสีกลีบที่ร้อยเป็นพื้นอยู่เดิมแล้วนั่นเอง จะร้อยลายอะไรนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการหรือเห็นว่าสวยงามเหมาะสมเป็นสำคัญ